วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555


19 ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED 2204
08.30-12.20 น.

ครั้งที่7
          -อาจารย์ให้ส่งวงกลมที่สั่งอาทิตย์ที่แล้ว คนที่ส่งงานครั้งนี้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบแต่ถ้าคนที่ส่งงานแล้วทำผิดมาอาจจะไม่เข้าใจในคำสั่ง
          - มาตราฐานนึกถึง คุณภาพ ตัวชี้วัด ตัววัดผล สถานศึกษา การสอบ สินค้า ผลิตภัณฑ์  
          - ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในการสื่อสาร
          - คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในการคำนาณและการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
          - กรอบนึกถึงจำกัด ขอบเขต กฎเกณฑ์
           ศัตรูของความคิดสร้างสรรค์ คือการขาดความเชื่อมั่น
           ปัจจัยการขาดความเชื่อมั่น คือ ตัวครูไม่รู้จักรอคอย ไม่ให้เวลาเด็ก ครูต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
การใช้เหตุผล    พัฒนาการ    การอนุรักษ์    จำนวน    ค่า-ปริมาณ    ตัวเลข    สัญลักษณ์    รูปภาพ    ของจริง             รูปธรรม        กึ่งธรรม          นามธรรม
ของจริง รูปภาพ สัณลักษณ์ เป็นส่วนขยาย
รูปธรรม กึ่งธรรม นามธรรม    เป็นส่วนขยาย
การนับสิ่งของ
การเพิ่มคือ บวก  การลดคือ ลบ
คณิตศาสตร์  จับคู่ ขนาด รูปทรง
                      วงกลม ไม่มีมุม ไม่มีเหลี่ยม เป็นพื้นที่ปิด
                       พื้นที่    ไม่มีส่วนเกิน
                       ปริมาณ  ไม่มีส่วนเหลือ
กรอบมาตราฐาน โดย สสวท.
มาตราฐานที่ 1 จำนวนและดำเนินการ
                         เป็นความหลากหลายรู้ถึงค่าและดำเนินการและการแสดงจำนวน โดย เขียน พูด และบัตรตัวเลขแทนค่า
มาตราฐานที่ 2 การวัด
                         การใช้เครื่องมือเพือ่หาค่าหรือปริมาณ ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง เงิน เวลา(นาฬิกา) ปริมาณ
มาตราฐานที่ 3 เรขาคณิต
                         ตำแหน่งทิศทางและระยะทาง   ตำแหน่ง = หน้า หลัง นอก ใน    ทิศทาง = ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก     ระยะทาง = ใกล้ ไกล   และต้องรวมรูปทรงเลขาคณิตด้วย
มาตราฐานที่ 4 พีชคณิต
                         การเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  แบบรูปคือ แบบที่เขากำหนดแล้วให้เราทำตามแบบ
มาตราฐานที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                         การรวบรวมข้อมูลต่างๆที่จะคำนาณ



วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555



 12 ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED 2204
08.30-12.20 น.

ครั้งที่6
 
          อาจารย์ให้เขียนขอบข่ายในการสอนคณิตศาสตร์เป็นคู่ ใช้สื่ออะไรก็ได้
คู่ดิฉันคือ น.ส. กรรจิรา สึกขุนทด ซึ่งได้เขียนขอบข่ายเรื่อง อุปกรณ์เครื่องเขียน คือ
  1. การนับ   =    นำอุปกรณ์มารวมกัน แล้วให้เด็กนับ 1-10 หรือมากกว่านั้น
  2. ตัวเลข   =  ให้เด็กบอกจำนวนที่นับได้แก่ครู แล้วให้ครูเขียนสัญลักษณ์แทนค่า
  3. การจับคู่   =  ให้เด็กจับคู่อุปกรณ์ที่เป็นประเภทเดียวกัน
  4. การจัดประเภท    =   ให้เด็กจัดอุปกรณ์ที่มีสีเดียวกัน
  5. การเปรียบเทียบ  =   ให้เด็กเปรียบเทียบปากกากับดินสอ ว่าอันไหนสั้นอันไหนยาว
  6. การจัดลำดับ       =   ให้เด็กแบ่งอุปกรณืเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งมี สมุด ปากกาแดง ปากกาน้ำเงิน ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด อย่างละ 1 ชิ้น
  7. รูปทรงและเนื้อที่  =   ให้เด็กหยิบของมา 8 ชิ้น แล้วให้เด็กสร้างเป็นอะไรก็ได้ตามจินตนาการของเด็ก
  8. การวัด   =     ให้เด็กลงมือวัดดินสอ 2 แท่ง ว่าแท่งไหนยาว แท่งไหนสั้น
  9. เซต       =      ครูถามเด็กว่าอุปกรณ์ทั้งหมดเป็นเซตอะไร
  10. เศษส่วน   =   ให้เด็กแบ่งอุปกรณ์ทั้งหมด ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ชิ้น
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย     =    ครูนำอุปกรณ์มา 4 ชิ้นแล้วให้เด็กดู แล้วเอาอุปกรณ์ออก 1 ชิ้น จึงถามเด็กว่าอะไรหายไป
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ =  ครูถามเด็กว่าไม้บรรทัดกับกบเหลาดินสอมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่

         - อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานที่ให้เขียนขอบข่ายในการสอนคณิตศาสตร์ แล้วถามทีละกลุ่ม สุ่มหัวข้อถาม

         - อาจารย์ให้หยิบกล่องคนละ 1 กล่อง แล้วจับคู่ช่วยกันคิดว่ากล่องสามารถสอนคณิตศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง



     - แล้วให้จับกลุ่ม 5 กลุ่ม 10 คน เอากล่องแต่ละคนมาประกอบเป็นรูปร่าง



     - นี่รูปของเพื่อนทั้ง 5 กลุ่ม




     - แล้วจึงนำของเพื่อนทั้ง 5 กลุ่ม มาทำเป็นนิทรรศการ มีบ้านของหุ่นยนต์ 3 หลัง มีบ้านช้าง 1 หลัง มีสถานีรถไฟ รถไฟ และมีประตู 2 ประตู ทางเข้า-ออก



     - อาจารย์สั่ง การบ้าน คือ ให้ตัดกระดาษจากกระดาษกล่องเป็นวงกลม ที่มีจุดผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว    1.5 นิ้ว และ 2 นิ้ว อย่างละ 3 สี มีสีเหลือง สีเขียวเข้มและสีชมพู รวมเป็น 9 ชิ้น 




วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555


5 ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED 2204
08.30-12.20 น.

ครั้งที่5
 
 
ไม่มีการเรียนการสอน เพราะตรงกับวันพ่อ
 
 

28 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED 2204
08.30-12.20 น.

ครั้งที่4
          วันนี้อาจารย์เข้า 9.30น เพราะได้เป็นประธานเปิดงานที่สาธิต
อาจราย์ได้พูดเรื่องคณิตศาสตร์ถึง รูปร่าง รูปทรง ปริมาณ ตัวเลข การจำแนก จำนวนและเลขาคณิต
ขอบข่ายการเรียนคณิตศาสตร์ในส่วนของปฐมวัย
(นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)
 
  1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น นับ 1-10 หรือมากกว่านั้น การนับเพื่ออยากรู้จะนวน
  2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้ในชีวิตประจำวันให้เด็กได้เล่น ของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนหรืออาจเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แทนค่าจำนวนลำดับ
  3. การจับคู่ (Matching) ให้เด็กฝึกฝนลักษณะต่างๆ แล้วจับคู่เข้ากันเหมือนอยู่ประเภทเดียวกัน จับคู่จำนวนเท่ากัน จับคู่ภาพเหมือนตัวเล
  4. การจัดประเภท (Classification) จัดเป็นหมวดหมู่และต้องกำหนดเกณฑ์
  5. การเปรียบเทีบย (Comparing) เพื่อให้เด็กรู้ค่า เช่น สั้น-ยาว หนัก-เบา กว้าง-แคบ
  6. การจัดลำดับ (Ordering) ให้เด็กจัดสิ่งของเป็นชุดๆตามคำสั่ง
  7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shage and Space) มีปริมาณ เนื้อที่และมิติ
  8. การวัด (Measurement) ให้เด็กได้ลงมือวัด ซึ่งการวัดให้ได้ค่าได้จำนวน
  9. เซต (Set) เช่น ให้รู้จักชุดเครื่องครัว ชุดแตงตัว มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
  10. เศษส่วน (Fraction) การแบ่งครึ่ง ต้องนับและดึงออกทีละชิ้น
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) รูปทรง ตัวเลข เส้น ฝึกให้เด็กฝึกฝนตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservating) ให้เด็กลงมือปฎิบัติจริง เด็กตอบตามที่ตาเห็นและตอบโดยไม่มีเหตุผล ยังเอาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้

(เยาวพา เดชะคุปต์.2542:87-88)

          สอนคณิตศาสตร์แนวใหม่เพื่อจัดประสบการณ์ให้เด็ก
  1. การจัดกลุ่มหรือเซต คือ การจับคู่ 1:1
  2. จำนวน คือ 1-10 หรือจำนวนคู่ คี่
  3. ระบบจำนวน คือ ชื่อของตัวเลข
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซต เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ
  5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จาการรวมกลุ่ม  คือ การรวมกลุ่มและการแยก
  6. ลำดับที่ แสดงถึงจำนวน ปริมาณ เช่น มาก-น้อย สูง-ต่ำ
  7. การวัด วัดของเหลว เงินตรา อุณหภูมิ
  8. รูปทรงเลขาคณิต คือให้เด็กเปรีบยเทียบรูปร่าง ขนาดและระยะทาง
  9. สถิติและกราฟ เป็นตัวหนึ่งในการนำเสนอทำแผนภูมิ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


21 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED 2204
08.30-12.20 น.

ครั้งที่3
                   เรียนห้อง 234 แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แล้วช่วยกันสรุปงานจากการที่ไปหาเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  คือ ความหมายคณิตศาสตร์ ทฤษฎีการสอน หลักการสอนและขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์
   สมาชิกกลุ่ม  
  1. น.ส. ณัฐวดี      ขำสม
  2. น.ส. พัชรินทร์  แก้วปู๋ย
  3. น.ส. พัชรี         คำพูล

1. ความหมายของคณิตศาสตร์
         
          คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบนามธรรมโดยทั่วไป ซึ่งมีโครงสร้างที่แน่นอนและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันและมิได้หมายถึงเพียงตัวเลขเท่านั้นแต่ยังมีความหมายที่กว้างขวางดังต่อไปนี้
      1) คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีภาษาเฉพาะตัวของมันที่กำหนดขึ้นด้วยสัญลักษณ์ที่รัดกุม เป็นภาษาที่มีตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์ แทนความคิด
     2) คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้างที่มีเหตุผล
อ้างอิงจาก   ยุพิน พิพิธกุล.การเรียนการสอนคณิตศาสตร์.กรุงเทพมหานคร:บพิธการพิมพ์.2524

2. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
           
          มีลำดับขั้นของการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ คือ 
     1)ขั้นเตรียมความพร้อม  เป็นการสำรองความพร้อมของผู้เรียนว่ามีพื้นฐานมากน้อยเพียงใด
     2)ขั้นการทำความเข้าใจ เป็นขั้นนำผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่งที่ต้องการสอน
     3)ขั้นเปรียบเทียบความแตกต่าง ผู้สอนชี้ให้เห็นความหมาย ความแตกต่างระหว่างแนวคิดไดเพียงใดก็จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
     4)ขั้นฝึกทักษะ
     5)ขั้นทบทวนความรู้
     6)ขั้นนำไปใช้
อ้างอิงจาก สุรชัย  ขวัญเมือง.วิธีการสอนและการวัดผลวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา:  
                                    เทพนิมิตรการพิมพ์.2522

3. ขอบข่าย/เนื้อหาคณิตศาสตร์

          การจัดโครงการเนื้อหาของคณิตศาสตร์แต่ละเนื้อหาจะจัดให้สัมพันธ์กับเนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แต่ละเนื้อหาเป็นเรื่องที่จะต้องใช้หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ในการจัดเนื้อหาในแต่ละระดับชั้นต้งจัดให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัย
อ้างอิงจาก เรวัตร พรหมเพ็ญ.พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์สำหรับประถมศึกษา.      
                                  ภาคหลักสูตรการสอน.คณะวิชาครุศาสตร์สถาบันราชภัฎจันทรเกษม:2537

4. แนวการสอน

          1) สอนโดยการให้อธิบายและเหตุผล
          2) สอนแบบสาธิต
          3) สอนโดยการถาม-ตอบ
อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ 2
                                  (คณิตศาสตร์): 2537


   
          

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


14 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED 2204
08.30-12.20

ครั้งที่2
                    อาจารย์แจกกระดาษ A 4  หนึ่งแผ่น แล้วให้แบ่งสี่  วาดรูปไว้ด้านบน ส่วนข้างลางให้เขียนชื่อ  แล้วให้คนที่มาก่อนเวลา 08.30 น.เอาไปติดไว้บนกระดาน



                    การเชื่อมโยงจากภาพ  รูปทรง จำนวน จัดหมวดหมู่ ขนาด
        
                    การนับ  คนที่มาก่อนเวลา 08.30 น. มีจำนวน 19 คน  การนับเพิ่ม (การบวก)
การนับลด(การลบ)
                   แล้วอาจารย์ได้สั่งงาน ให้ไปหาหนังสือคณิตศาสตร์ ให้จดชื่อหนังสือ ผู้แต่ง พ.ศ และเลขรหัส มา 5 เล่ม แล้วใน 5 เล่ม หยิบมา 1 เล่ม จดเอา เลขที่หน้า บรรณานุกรม ปีที่พิมพ์ สำนักพิมพ์    ตามหัวข้อ คือ  
  1.  ความหมายของคณิตศาสตร์
  2. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
  3. ขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์
  4. หลักการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


7 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED 2204
08.30-12.20

ครั้งที่1
                    ย้ายห้องเรียนจากห้อง 432 มาเรียนที่ 224
                   
          ข้อตกลงในการเรียนการสอน
  1. ห้ามใส่ชุดพละ
  2. แต่งกายให้ถูกต้อง
  3.  เวลามาเรียนให้เข้าเรียนก่อน 9 โมง มาหลังจากนี้ถือว่า มาสาย
  4. ให้เข้าร่วมกิจกรรมคณะ
  5. อธิบายวิธีการทำ blog
  6. อาจาย์จะปล่อยก่อน 45 นาที เพื่อให้นักศึกษาไปทำ blog
      การสอน  = ครูต้องเตรียม บอก บรรยาย ศึกษานอกสถานที่ เป็นการสอนที่ต้องบรรลุจุดประสงค์ คือ   - วางแผน  -วัตถุประสงค์  -ขั้นตอน - ประเมิน
ว่าการสอนนี้เด็กจะบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่

     จัดประสบการณ์ = ครูก็ต้องมีการวางแผน วัตถุประสงค์ ขั้นตอน ประเมินเหมือนเดิม แต่การจัดประสบการณ์นี้ ครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กด้วย

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
  1. เสรี
  2. เคลื่อนไหวและจังหวะ
  3. ศิลปะสร้างสรรค์
  4. เกมการศึกษา
  5. เสริมประสบการณ์
  6. กลางแจ้ง
เนื้อหาที่เรียน
  1. ประโยคของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร 
ดิฉัน= เด็กได้รู้จักตัวเลข  แยกจำนวนเป็น และได้รู้จักรูปทรงเลขาคณิต

    2.  นักศึกษาคาดหวังอะไรกับวิชานี้